วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและชุมชน


รูปแบบของ Present Perfect Tense

Subject + has/have + Verb3

หลักการใช้ Present Perfect Tense

  1. ใช้กับเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นในอดีต และดำเนินต่อเนื่องมายังปัจจุบัน และมีแนวโน้นที่จะดำเนินต่อไปได้อีกในอนาคต เช่น

    I have had a lot of toys.
    ฉันมีของเล่นมากมาย (และอาจจะมีของเล่นเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต)

  2. ใช้กับเหตุการณ์ในอดีตที่ เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงแล้ว แต่ยังส่งผลมายังปัจจุบัน เช่น

    It has stopped raining.
    ฝนหยุดตกแล้ว (แต่ถนนยังเปียกอยู่)

  3. ใช้พูดถึง เหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นซ้ำๆกัน ในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างอดีตและปัจจุบัน โดยมักใช้คำว่า many/several times, a lot of times, …times, again and again, over and over และอื่นๆ เช่น

    I’ve read this book more than 3 times. (ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้มามากกว่าสามรอบแล้ว)

  4. ใช้กับเหตุการณ์ที่ เพิ่งสิ้นสุดลง โดยไม่ระบุเวลา ซึ่งมักใช้กับ just, already และ yet

  • yet มักใช้ในประโยคปฏิเสธ ส่วน just และ already นั้น มักจะใช้กันในประโยคบอกเล่า โดยวางไว้อยู่หน้ากริยาหลัก เช่น

I haven’t finished my homework yet. (ฉันยังทำการบ้านของฉันไม่เสร็จเลย)

I have just finished my home work. (ฉันเพิ่งทำการบ้านของฉันเสร็จ)

I’ve already finished my homework. (ฉันทำการบ้านของฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว)
  • หากเราระบุเวลาลงไป ประโยคจะต้องใช้ Past Simple Tense เท่านั้น ไม่สามารถใช้ Present Perfect Tense ได้ เช่น

I finished my homework at 7 o’clock. (ฉันทำการบ้านเสร็จแล้วตอนเจ็ดโมงเช้า)

  1. ใช้เพื่อบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ซึ่งมักใช้กับ just, recently, lately และอื่นๆ

    The meeting has just started. (การประชุมเพิ่งจะเริ่มขึ้น)

    Have you seen him lately? (คุณได้เจอเขาเมื่อเร็วๆนี้บ้างไหม)

  1. ใช้กับ since (ตั้งแต่) และ for (เป็นเวลา)

    I have been here since I was about 15 years old.
    ฉันอยู่ที่นี่มาตั้งแต่อายุ 15 (ปัจจุบันฉันก็ยังคงอยู่ที่นี่)

    I have had a fever for almost a week.
    ฉันเป็นไข้มาประมาณอาทิตย์หนึ่งได้แล้ว (ปัจจุบันฉันก็ยังคงเป็นไข้อยู่เช่นเดิม)

วิธีการสร้างประโยค Present Perfect Tense

ครงสร้าง
Subject + has/have + Verb 3
ประโยคบอกเล่า
I / You / We / They
have
talked
to her.
He / She / It
has
slept
on the couch.
โครงสร้าง
Subject + has/have + not + Verb 3
ประโยคปฏิเสธ
I / You / We / They
have
not
talked
to her.
He / She / It
has
not
slept
on the couch.
โครงสร้าง
Has/Have + Subject + Verb 3?
ประโยคคำถาม
Have
I / you / we / they
talked
to her?
Has
he / she / it
slept
on the couch?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + has/have + Verb 3?
ประโยคคำถาม 
Wh-
Who
have
I / you / we / they
talked to?
Where
has
he / she / it
slept?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ has/have not คือ hasn’t และ haven’t 


รูปแบบของ Present Simple Tense

Subject + Verb1

หลักการใช้ Present Simple Tense

  1. ใช้พูดถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หรือ เกิดขึ้นเป็นประจำซ้ำไปซ้ำมา เช่น
I drink a lot of water. (ฉันดื่มน้ำเยอะ)
  1. ใช้กับการกระทำที่ ทำจนเป็นอุปนิสัย หรือ ใช้เพื่อแสดงความถี่ของการกระทำต่างๆ โดยเรามักใช้กับ คำกริยาวิเศษณ์แสดงความถี่ (Adverbs of Frequency) มาช่วยในการแสดงความถี่ของการกระทำ เช่น

I always do my homework. (ฉันทำการบ้านของฉันเสมอ)
*อย่างไรก็ตามประโยคที่มี คำกริยาวิเศษณ์แสดงความถี่ (Adverbs of Frequency) นั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็น Present Simple Tense เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ประโยคนั้นกล่าวถึง การกระทำในช่วงเวลาใด เช่น
I usually went to a museum. (Past Simple Tense)
I will always love you. (Future Simple Tense)
  1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ เป็นความจริงตลอดไป (fact) หรือ เป็นกฎทางธรรมชาติ (natural law) โดยไม่จำเป็นว่าการกระทำนั้นๆ กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูดหรือไม่ เช่น

Snow is white. (หิมะมีสีขาว)
  1. ใช้เมื่อต้องการพูดถึง ตารางเวลา (Schedule) หรือ แผนการ (Plan) ที่ได้วางไว้ เช่น

The meeting starts from 8.30 am until 10.00 pm.
(การประชุมเริ่มตอนแปดโมงครึ่งตอนเช้าไปยังสี่ทุ่ม)
  1. ใช้ในการ แนะนำ บอกแนวทาง หรือ สอน เช่น

How do I get to the nearest mall? Go straight and turn left on the next corner.
(ฉันจะไปยังห้างที่ใกล้ที่สุดได้อย่างไร เดินตรงไปแล้วเลี้ยวซ้ายตรงหัวมุมข้างหน้า

วิธีการสร้างประโยค Present Simple Tense

โครงสร้าง
Subject + Verb1
ประโยคบอกเล่า
I / You / We / They
eat
seafood.
He / She / It
knows
about you.
โครงสร้าง
Subject + do/does + not + Verb1
ประโยคปฏิเสธ
I / You / We / They
do
not
eat
seafood.
He / She / It
does
not
know
about you.
โครงสร้าง
Do/Does + Subject + Verb1?
ประโยคคำถาม
Do
I / you / we / they
eat
seafood?
Does
he / she / it
know
about you?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + do/does + Subject +Verb1?
ประโยคคำถาม 
Wh-
Why
do
I / you / we / they
eat
seafood?
What
does
he / she / it
know
about you?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ do/does not คือ don’t และ doesn’t

รูปแบบของ Past Continuous Tense

Subject + was/were + V.-ing

หลักการใช้ Past Continuous Tense

  1. ใช้เพื่อกล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่ เกิดขึ้นในอดีต ในช่วงเวลาที่บ่งไว้อย่างชัดเจน เช่น
was taking a shower at eight o’clock last night.
(ฉันกำลังอาบน้ำอยู่เมื่อวานตอนสองทุ่ม)
  1. ใช้เพื่อกล่าวถึงเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นซ้อนกันในอดีต โดย…
เหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นและดำเนินอยู่ จะใช้ Past Continuous Tense
เหตุการณ์สั้นๆนั้นได้เข้ามาแทรก จะใช้ Past Simple Tense 
เช่น I met you boyfriend in the park while I was jogging.
(ฉันเจอแฟนคุณในสวนตอนฉันกำลังวิ่งจ๊อกกิ้งอยู่)
  1. ใช้เพื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นควบคู่กันไป ณ เวลาเดียวกัน (Parallel Actions) โดย เหตุการณ์ทั้งสองเหตุการณ์จะใช้ Past Continuous Tense เช่น
was sleeping while the teacher was teaching,
(ฉันนอนหลับขณะที่คุณครูกำลังสอนอยู่)
  1. เรามักใช้คำว่า when, while, as ใน Past Continuous Tense เพื่อเชื่อมเหตุการณ์ ต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น
As I was going to the church, he was going to the sea.
(ขณะที่ฉันกำลังเดินทางไปที่โบสถ์ เขาก็กำลังไปทะเล)

วิธีการสร้างประโยค Past Continuous Tense

โครงสร้าง
Subject + was/were + V.-ing
ประโยคบอกเล่า
I / He / She / It
was
talking
to her.
You / We / They
were
reading
magazines.
โครงสร้าง
Subject + was/were + not + V.-ing
ประโยคปฏิเสธ
I / He / She / It
was
not
talking
to her.
You / We / They
were
not
reading
magazines.
โครงสร้าง
Was/Were + Subject + V.-ing?
ประโยคคำถาม
Was
I / he / she / it
talking
to her?
Were
you / we / they
reading
magazines?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + was/were + Subject + V.-ing?
ประโยคคำถาม 
Wh-
Who
was
I / he / she / it
talking to?
What
were
you / we / they
reading?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ was/were not คือ wasn’t และ weren’t


 วิธีการใช้ภาษาอังกฤษเรียกคนใกล้ชิดแบบไม่เป็นทางการ


หากพูดถึงประธานที่ใช้กันในชีวิตประจำวันแล้ว คงจะหนีไม่พ้น “I, You, We, They, He, She, It” ที่เราได้เรียนรู้กันมาจากตำราต่างๆ แต่รู้หรือไม่ว่า ในชีวิตจริงแล้ว มีคำมากมายที่สามารถนำมาใช้แทนคำเหล่านี้ได้ วันนี้เราลองปิดตำราทั้งหลาย แล้วเปิดโลกทัศน์ด้วยคำต่างๆที่เราควรจะรู้ไว้เพื่อใช่สื่อสารภาษาอังกฤษแบบไม่เป็นทางการ (Non-formal English) กันดีกว่า



คำที่ใช้เรียก “ผู้หญิง” บางคนอาจจะงงว่าทำไมอยู่ดีๆพึ่งจะรู้จักกับฝรั่ง แล้วทำไมเขาถึงเรียกเราว่าที่รักด้วยคำต่างๆนานา คำตอบก็คือ คำเหล่านี้สามารถนำมาใช้เรียกแทนตัวเราได้ ซึ่งก็ได้แก่คำว่า
Gorgeous, Sweetie, Sweetheart, Sister, Sis, Love, Darling, Honey, Baby, Girl, Gal, Dear, Sugar, Cutie, Chick



คำที่ใช้เรียก “ผู้ชาย” สำหรับผู้ชายแล้ว คำที่ใช้ต่างๆนั้นจะเน้นไปถึง ความสัมพันธ์แบบพี่น้อง (Brotherhood) หรือ คำที่บ่งบอกถึงมิตรภาพ (Friendship) ไปเสียส่วนใหญ่ เช่น
Man, Boy, Brother, Fella, Fellow, Dude, Buddy, Mate, My friend, Boss, Chief
คำที่ใช้เรียก ”กลุ่มเพื่อน” อาจใช้คำว่า Guys, People, Fellas, Gang, Gangsta, Chicks (แทนกลุ่มผู้หญิง)
คำที่ใช้เรียก “เด็ก” เช่น Kid, kiddo
คำที่ถูกย่อให้สั้นลง (Short forms) เป็นที่รู้กันว่าศัพท์แทบทุกคำที่นิยมใช้กันอยู่บ่อยๆ มักจะถูกย่อให้สั้นลง ซึ่งก็รวมไปถึงคำเหล่านี้ด้วย:

   Hun – มาจากคำว่า Honey
   Babe – มาจากคำว่า Baby
   Sis – มาจากคำว่า Sister
   Bro – มาจากคำว่า Brother
   Darl – มาจากคำว่า Darling

คำว่า “ที่รัก” แบบหวานแหวว - สำหรับคนที่เบื่อที่จะใช้คำว่า “Tee Rak” ในการเรียกแฟนตัวเองบน BB หรือ ใน SMS ต่างๆ แล้วกำลังมองหาคำอื่นอยู่ สามารถลองใช้คำเหล่านี้ดูได้ รับรองแปลก ไม่เหมือนใคร แถมยังฟังดูน่ารักอีกด้วย:
Cutie Bunny, Cutie Pie, Sweetie Pie, My Little Sunshine, My Sunshine, My pumpkin, Honey Bunny (Hunni Bunni), My Little Cupcake, Cupcake, honeybunch, My Boo (My Baby)

  *เราสามารถนำคำเหล่านี้ไปใช้เรียกเด็กได้เช่นกัน
  *การใช้คำว่า My หรือ Your เข้ามาเสริมคำต่างๆ อาจจะช่วยเพิ่มความหวานขึ้นอีกเท่าตัวหนึ่ง เช่น Your Sweetie Pie, Your pumkin, You are my little angel และอื่นๆ



เรียนรู้ภาษาอังกฤษ  แบบง่าย ๆ กัน ครับ                 
Subject + is/am/are + V.-ing

 หลักการใช้ Present Continuous Tense

  1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ กำลังดำเนินอยู่ในขณะที่พูด ต่อเนื่องไปเรื่อยๆและจบในอนาคต โดยอาจจะใช้ Adverbs of Time (คำกริยาวิเศษณ์บอกเวลา) บางคำ เช่น now, at the moment, right now, at present, these days เป็นต้น เข้ามาช่วยในประโยคด้วย เช่น
She is going to the supermarket at the moment.
(หล่อนกำลังไปซุปเปอร์มาร์เกตอยู่ตอนนี้)
  1. ใช้เพื่อพูดถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่ กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น
am meeting my boss this evening.
(ฉันจะพบกับเจ้านายเย็นนี้)
  1. ใช้แสดงเหตุการณ์หรือการกระทำที่ ผู้พูดมั่นใจว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน เช่น
He is going to China tonight.
(เขาจะเดินทางไปยังประเทศจีนคืนนี้)
  1. กริยาบางตัวไม่สามารถใช้ในรูปของ Present Continuous Tense ได้ ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะกำลังเกิดขึ้น หรือ ดำเนินอยู่ก็ตาม โดยเรามักใช้ในรูปของ Present Simple Tense กับคำกริยากลุ่มนี้แทน ซึ่ง ได้แก่
4.1) กริยาที่แสดงถึงประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น see, hear, feel, taste, smell

smell something bad. (ถูก)
* I am smelling something bad. (ผิด)
4.2) กริยาที่แสดงความนึกคิด ความรู้สึก เช่น know, understand, think, believe, agree, notice, doubt, suppose, forget, remember, consider, recognize, appreciate, forgive

believe her. (ถูก)
* I am believing her. (ผิด)

4.3) กริยาที่แสดงความชอบและความไม่ชอบ เช่น like, dislike, love, hate, prefer, trust, detest

He likes a woman with long hair. (ถูก)
* He is liking a woman with long hair. (ผิด)
4.4) กริยาที่แสดงความปรารถนา เช่น wish, want, desire, prefer

want to get married. (ถูก)
* I am wanting to get married. (ผิด)
4.5) กริยาที่แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น possess, have, own, belong

She has no children. (ถูก)
* She is having no children. (ผิด)

วิธีการสร้างประโยค Present Continuous Tense

โครงสร้าง
Subject + is/am/are + V.-ing
ประโยคบอกเล่า
I
am
talking
to her.
You / We / They
are
reading
magazines.
He / She / It
is
sleeping
on the couch.
ครงสร้าง
Subject + is/am/are + not + V.-ing
ประโยคปฏิเสธ
I
am
not
talking
to her.
You / We / They
are
not
reading
magazines.
He / She / It
is
not
sleeping
on the couch.
โครงสร้าง
Is/Am/Are + Subject + V.-ing?
ประโยคคำถาม
Am
I
talking
to her?
Are
you / we / they
reading
magazines?
Is
he / she / it
sleeping
on the couch?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + is/am/are + Subject + V.-ing?
ประโยคคำถาม 
Wh-
Who
am
I
talking to?
What
are
you / we / they
reading?
Where
is
he / she / it
sleeping?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ is / am / are not คือ isn’t, aren’t และ aren’t

                        ขอแสดงความยินดีกับประเทศไทย 
                               และคนไทยทุกท่านด้วยที่ตัวท่าน ตลอดถึงชุมชนของท่าน
                                           ที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียน

AEC-ASEAN
AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว
AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆดังนี้
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN)
การเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัดๆใน AEC โดยอธิบายให้เห็นภาพเข้าใจง่ายๆ เช่น
- การลงทุนจะเสรีมากๆ คือ ใครจะลงทุนที่ไหนก็ได้ ประเทศที่การศึกษาระบบดีๆ ก็จะมาเปิดโรงเรียนในบ้านเรา อาจทำให้โรงเรียนแพงๆแต่คุณภาพไม่ดีลำบาก
- ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และการบินอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่าอยู่กลาง Asean และไทยอาจจะเด่นในเรื่อง การจัดการประชุมต่างๆ, การแสดงนิทรรศการ, ศูนย์กระจายสินค้า และยังเด่นเรื่องการคมนาคมอีกด้วยเนื่องจากอยู่ตรงกลางอาเซียน และการบริการด้านการแพทย์และสุขภาพจะเติบโตอย่างมากเช่นกันเพราะ จะผสมผสานส่งเสริมกันกับอุตสาหกรรรมการท่องเที่ยว (ค่าบริการทางการแพทย์ต่างชาติจะมีราคาสูงมาก)
- การค้าขายจะขยายตัวอย่างน้อย 25% ในส่วนของอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น รถยนต์, การท่องเที่ยว, การคมนาคม, แต่อุตสาหกรรมที่น่าห่วงของไทยคือ ที่ใช้แรงงานเป็นหลักเช่น ภาคการเกษตร, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรรมสิ่งทอจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากฐานการผลิตอาจย้ายไปประเทศที่ผลิตสินค้าทดแทนได้เช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยผู้ลงทุนอาจย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า เนื่องด้วยบางธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะมากนัก ค่าแรงจึงถูก
- เรื่องภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะมีคนอาเซียน เข้ามาอยู่ในไทยมากมายไปหมด และมักจะพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ แต่จะใช้ภาษาอังกฤษ (AEC มีมาตรฐานแจ้งว่าจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางใน AEC) บางทีเรานึกว่าคนไทยไปทักพูดคุยด้วย แต่เค้าพูดภาษาอังกฤษกลับมา เราอาจเสียความมั่นใจได้   ส่วนสิ่งแวดล้อมนั้น ป้ายต่างๆ หนังสือพิมพ์, สื่อต่างๆ จะมีภาษาอังกฤษมากขึ้น (ให้ดูป้ายที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นตัวอย่าง) และจะมีโรงเรียนสอนภาษามากมาย หลากหลายหลักสูตร
- การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมากมาย เนื่องจาก ด่านศุลกากรชายแดนอาจมีบทบาทน้อยลงมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหาสังคมตามมาด้วย
- เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานที่ไร้ฝีมืออีกต่อไปเพราะแรงงานจะเคลื่อย้ายเสรี จะมี ชาวพม่า, ลาว, กัมพูชา เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น แต่คนเหล่านี้ก็จะมาแย่งงานคนไทยบางส่วนด้วยเช่นกัน  และยังมีปัญหาสังคม, อาชญากรรม จะเพิ่มขึ้นอีกด้วย อันนี้รัฐบาลควรระวัง
- คนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ บางส่วนจะสมองไหลไปทำงานเมืองนอก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์ (ที่จะให้สิงคโปร์เป็นหัวหอกหลัก) เพราะชาวไทยเก่ง แต่ปัจจุบันได้ค่าแรงถูกมาก อันนี้สมองจะไหลไปสิงคโปร์เยอะมาก แต่พวกชาวต่างชาติก็จะมาทำงานในไทยมากขึ้นเช่นกัน อาจมีชาว พม่า, กัมพูชา เก่งๆ มาทำงานกับเราก็ได้ โดยจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง  บริษัท software ในไทยอาจต้องปรับค่าจ้างให้สู้กับ บริษัทต่างชาติให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดภาวะสมองไหล
- อุตสาหกรรมโรงแรม, การท่องเที่ยว, ร้านอาหาร, รถเช่า บริเวณชายแดนจะคึกคักมากขึ้น เนื่องจากจะมีการสัญจรมากขึ้น และเมืองตามชายแดนจะพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นจุดขนส่ง
- สาธารณูปโภคในประเทศไทย หากเตรียมพร้อมไม่ดีอาจขาดแคลนได้เช่น ชาวพม่า มาคลอดลูกในไทย ก็ต้องใช้โรงพยาบาลในไทยเป็นต้น
- กรุงเทพฯ จะแออัดอย่างหนัก เนื่องจากมีตำแหน่งเป็นตรงกลางของอาเซียนและเป็นเมืองหลวงของไทย โดยเมืองหลวงอาจมีสำนักงานของต่างชาติมาตั้งมากขึ้น รถจะติดอย่างมาก สนามบินสุวรรณภูมิจะแออัดมากขึ้น (ปัจจุบันมีโครงการที่จะขยายสนามบินแล้ว)
- ไทยจะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกในการผลิตอาหาร เพราะ knowhow ในไทยมีเยอะประสบการณ์สูง และบริษัทอาหารในไทยก็แข็งแกร่ง ประกอบทำเลที่ตั้งเหมาะสมอย่างมาก แม้จะให้พม่าเน้นการเกษตร แต่ทางประเทศไทยเองคงไปลงทุนในพม่าเรื่องการเกษตรแล้วส่งออก ซึ่งก็ถือเป็นธุรกิจของคนไทยที่ชำนาญ อยู่แล้ว
- ปัญหาสังคมจะรุนแรงถ้าไม่ได้รับการวางแผนที่ดี เนื่องจาก จะมีขยะจำนวนมากมากขึ้น, ปัญหาการแบ่งชนชั้น ถ้าคนไทยทำงานกับคนต่างชาติที่ด้อยกว่า อาจมีการแบ่งชนชั้นกันได้, จะมีชุมชนสลัมเกิดขึ้น และอาจมี พม่าทาวน์, ลาวทาวน์, กัมพูชาทาวน์, ปัญหาอาจญากรรมจะรุนแรง สถิติการก่ออาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากชนนั้นที่มีปัญหา, คนจะทำผิดกฎหมายมากขึ้นเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย
การขนส่งที่เปลี่ยนแปลง East-West Economic Corridor (EWEC)
East-West-Economic-Corridor
East West Economic Corridor
จะมีการขนส่งจากท่าเทียบเรือทางทะเลฝั่งขวาไปยังฝั่งซ้าย เวียดนาม-ไทย-พม่า มีระยะทางติดต่อกันโดยประมาณ 1,300 กม.อยู่ในเขตประเทศไทยถึง 950 กม. ลาว 250 กม. เวียนดนาม 84 กม.เส้นทางเริ่มที่ เมืองท่าดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านเมืองเว้และเมืองลาวบาว ผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตในประเทศ ลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ข้ามแม่น้ำโขงสู่ไทยที่ จังหวัดมุกดาหาร ผ่านจังหวัด กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากนั้นเข้าไปยังประเทศพม่าไปเรื่อยๆ ถึงอ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย หรือมะละแหม่ง เป็นการเชื่อมจากทะเลจีนใต้ไปสู่อินเดีย
มันจะมีผลที่ดีคือ การขนส่ง logistic ใน AEC จะพัฒนาอีกมาก และจากาการที่ไทยอยู่ตรงกลางทำให้เราขายของได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางฝั่งซ้ายก็ได้ ทางฝั่งขวาก็ได้  ที่ดินในไทยบริเวณดังกล่าวก็น่าจะมีราคาสูงขึ้น
และที่พม่ายังมี โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือโครงการ “ทวาย” (ศูนย์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่,ท่าเรือขนาดใหญ่ ที่ปัจจุบัน Italian-Thai Development PLC ได้รับสัมปทานในการก่อสร้างแล้ว) ที่เส้นทางสอดคล้องกับ East West Economic Corridor โดยทวายจะกลายเป็นทางออกสู่ทะเลจุดใหม่ที่สำคัญมากต่ออาเซียน เพราะในอดีตทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียจำเป็นต้องใช้ท่าเรือของสิงคโปร์เท่านั้น ขณะเดียวกันโปรเจกต์ทวายนี้ยังเป็นต้นทางรับสินค้าจากฝั่งมหาสมุทรอินเดียหรือสินค้าที่มาจากฝั่งยุโรปและตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มพลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซ ซึ่งจะถูกนำเข้าและแปรรูปในโรงงานปิโตรเคมีภายในพื้นที่โปรเจกต์ทวาย เพื่อส่งผ่านไทยเข้าไปยังประเทศกลุ่มอินโดจีนเช่น ลาว กัมพูชา และไปสิ้นสุดปลายทางยังท่าเรือดานังประเทศเวียดนาม และจะถูกส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและจีน
ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่เราควรจะเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ ที่สำคัญตอนนี้คือ ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยๆเราก็จะได้สื่อสารทางธุรกิจได้ เพราะหากสื่อสารไม่ได้ เรื่องอื่นก็คงไม่ต้องทำอะไรต่อ  และถ้าจะหาลูกค้าแค่ในไทยก็อาจไม่เพียงพอแล้วเพราะ ธุรกิจต่างชาติก็จะมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดของเราแน่นอน เรื่อง AEC จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่ธุรกิจและคนไทยต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมให้ดี



ภาพรวมการเปิดเสรีด้านการบริการของ AEC ที่มีผลกระทบกับไทย
การเปิดเสรีด้านบริการ แม้ว่าสิงคโปร์มีศักยภาพในด้านบริการสูงที่สุดในอาเซียนและน่าจะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการเปิดเสรีด้านบริการ โดยเฉพาะในสาขาโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ การขนส่งทางอากาศและโลจิสติกส์ ซึ่งสิงคโปร์มีความพร้อมทั้งทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหนือประเทศอื่นในอาเซียนรวมทั้งดีกว่าไทยอยู่มาก
อย่างไรก็ตาม ไทยก็มีศักยภาพสูงในการให้บริการในบางสาขา โดยเฉพาะสาขาการท่องเที่ยว ซึ่งไทยมีจุดแข็งอยู่หลายด้าน ทั้งทำเลที่ตั้ง ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการให้บริการที่เป็นมิตรของคนไทยที่สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี รวมถึงสาขาการแพทย์และบริการด้านสุขภาพ ไทยก็มีจุดแข็งไม่เพียงแต่มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่ยังมีจุดเด่นด้านราคาที่ไม่สูงจนเกินไป (ต่ำกว่าสิงคโปร์ค่อนข้างมาก) รวมทั้งมีบริการทางการแพทย์ที่หลากหลาย ทั้งด้าน Medical Care (บริการรักษาทางการแพทย์) Health Care (บริการดูแลสุขภาพทั่วไป) Aging Care (บริการดูแลผู้สูงอายุ) และ Beauty Care (บริการด้านความงาม) ซึ่งล้วนเป็นธุรกิจบริการที่ไทยจะได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีภาคบริการ

ประกันไทยไม่พร้อม เตือนภัยเปิดเสรี AEC

กระแสเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี (Asean Economic Community : AEC) กำลังมาแรง วงการธุรกิจอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจประกันภัย-ประกันชีวิต เริ่มตื่นตัวกันแล้วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจประกันภัยที่เป็นบริษัทท้องถิ่น เตรียมตั้งรับเพราะไม่มีเครือข่ายพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นต่างประเทศ และที่ผ่านมายังมีปัญหาเคลมสินไหมน้ำท่วมหลายแสนล้านบาท ซึ่งยังเป็นปัญหาเคลียร์ไม่จบ
ขณะที่ธุรกิจประกันชีวิตแม้ดูเหมือนจะมีปัญหาน้อยกว่า เพราะผู้ประกอบการกว่าครึ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาปักธงอยู่แล้ว เหลือผู้ประกอบการท้องถิ่นไม่ถึง 10 ราย แต่ปรากฎว่าเมื่อต้องเปิดเสรีอาเซียนขึ้นมาจริงๆในในปี 2558 หลายฝ่ายก็ไม่มั่นใจว่าแต่ละแห่งจะเตรียมความพร้อมรองรับกระแสการแข่งขันของกลุ่มทุนต่างชาติอื่นๆ ที่จะเข้ามาเจาะตลาดได้แค่ไหน
สำหรับความเคลื่อนไหวเพื่อรับมือการเปิดเสรีเออีซีนั้น มีอาทิ บริษัท กรุงเทพประกันภัย (BKI) และกรุงเทพประกันชีวิต(BLA) ร่วมกับพันธมิตรที่เป็นบริษัทประกันภัยต่างชาติในการจัดตั้งบริษัทแคมโบเดียนไลฟ์ ในประเทศกัมพูชา โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินกัมพูชาถือหุ้นใหญ่ 51% ส่วนอีก 49% เป็นการร่วมลงขันโดยบริษัทประกันที่เป็นพันธมิตรกันใน 4ประเทศ คือ BKI, BLA, บริษัทประกันภัยจากฮ่องกง และอินโดนีเซีย เพื่อเป็นอีกหนึ่งกลไกช่วยสร้างหลักประกันให้แก่ผู้บริโภคในตลาดกัมพูชา หลังรัฐบาลกัมพูชาเพิ่งเปิดตลาดหุ้นไปแล้วเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาส่วนทางคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ได้แก้ไขหลักเกณฑ์สัดส่วนการถือหุ้น
ของต่างชาติในบริษัทประกันภัยให้สามารถถือหุ้นเกินกว่า 25% โดยกำหนดว่าถ้าถือหุ้นไม่เกิน 49% จะต้องขออนุมัติบอร์ดคปภ. และถ้าถือหุ้นเกิน 49% ขึ้นไป ต้องขออนุมัติจาก รมว.คลัง เพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทประกันภัยให้สามารถรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ได้เต็มที่ภายในปี 2020
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. กล่าวยอมรับว่าขณะนี้ธุรกิจประกันไทยในภาพรวม ยังไม่มีความพร้อมในการรองรับเออีซี เพราะภาคประกันของไทยต้องสร้างตัวเองให้มีความเข้มแข็งก่อนที่จะไปแข่งขันกับต่างประเทศ ซึ่งคงต้องมีการเตรียมพร้อมในเรื่องนี้กันอีกมาก และต้องเร่งปรับตัวให้ทันก่อนปี 2020 โดยนายประเวชแนะว่า บริษัทประกันต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ด้วย เพราะการประกันเป็นธุรกิจการเงินที่มีความซับซ้อน จึงถูกกำหนดให้มีระยะเวลาปรับตัวนานกว่าธุรกิจอื่นไปหนึ่งสเต็ป
นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยประกันชีวิต ให้ความเห็นว่าสิ่งสำคัญ คือการปรับเปลี่ยนระบบของแต่ละบริษัทให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันในธุรกิจ เพราะการเปิดเสรีประกันภัยนั้นพูดกันมานาน 20 ปีแล้ว กระทั่งขยับเข้ามาเป็นเออีซี ซึ่งแคบลงกว่าเดิม โดยในส่วนของไทยประกันชีวิตมีการปรับรูปแบบโครงสร้างการบริหารธุรกิจภายในให้รับกับกระแสการแข่งขันภายนอกที่แข่งขันรุนแรงมานานนับ 10 ปีแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาปรับเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมานายประกิตติ บุณยเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารตัวแทนประกันชีวิต บริษัทเอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่าบริษัทแม่ที่ฮ่องกงยังไม่ได้ให้นโยบายเร่งด่วนสำหรับการวางแผนรองรับการเปิดเสรีเออีซี เพราะเอไอเอ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทั้ง15 ประเทศ ต่างมีขนาดธุรกิจค่อนข้างใหญ่ และประสบผลสำเร็จทางด้านยอดขายค่อนข้างดี ครอบคลุมฐานลูกค้ามากกว่าตลาดอาเซียนในปัจจุบัน โดยเฉพาะเอไอเอ ประเทศไทยมีฐานกรมธรรม์ลูกค้าทั้งประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลรวมกันแล้ว 7 ล้านฉบับ
นายธีระ ภู่ตระกูล นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย กล่าวว่าในปี 2558 เมื่ออาเซียนกลายเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี มีการเปิดเสรีด้านการเงินการธนาคาร จะทำให้การแข่งขันด้านธุรกรรมและบริการวางแผนทางการเงินมีความรุนแรงมากขึ้น เพราะสถาบันการเงินและบริษัทประกันชีวิตของประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียนจะมีโอกาสเข้ามามีบทบาทและร่วมแข่งขันในประเทศไทยมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีสถาบันที่ให้บริการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเป็นบริการเสริมเพื่อดึงดูดลูกค้าของสถาบันการเงินและธุรกิจประกันชีวิต โดยยังไม่ได้รวมถึงบริการของนักวางแผนการเงินอิสระอีกต่างหาก ดังนั้น ธุรกิจของไทยต้องวางแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นไว้ล่วงหน้า
นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทแอกซ่าประกันภัย ให้ความเห็นว่าถ้าเปิดเออีซีเต็มรูปแบบจริงบริษัทประกันภัยท้องถิ่นในประเทศจะเสียเปรียบบริษัทประกันภัยที่มีเครือข่ายข้ามชาติ ยกตัวอย่าง การประกันภัยรถข้ามแดนที่ปัจจุบันยังทำเฉพาะการประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. แต่ในอนาคตจะต้องเปิดประกันภาคสมัครใจด้วย
ที่มา : ดอกเบี้ยธุรกิจ

ว่าด้วยภาษีนิติบุคคล-ภาษีมูลค่าเพิ่มไทย เมื่อต้องเตรียมรับ AEC…

อีกไม่กี่ปีประเทศไทยจะเข้าสู่ AEC กันแล้ว และเมื่อเป็น AEC แล้วประเทศไทยของเราก็เหมือนไม่มีพรมแดนทางเศรษฐกิจ คนที่จะมาค้าขาย มาตั้งบริษัท หรือมาลงทุนในไทย ก็คงต้องเปรียบเทียบอัตราภาษีทั้งหมดของเรา ซึ่งปัจจุบันอัตรา ภาษีนิติบุคคล บุคคลธรรมดา ของเราค่อนข้างสูงกว่าของประเทศอื่นขณะที่อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ มของเราค่อนข้างต่ำ ดังนั้น กรมสรรพากรควรจะได้เตรียมโครงสร้างภาษีระยะยาว ซึ่งมีแนวโน้มสูงว่าต้องลดทั้งอัตราภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาขณะเดียวกันภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งมีแนวโน้มว่าต้องปรับให้สูงขึ้น
จะเอาอย่างไร ถ้าไทยไม่ปรับโครงสร้างภาษีอากรให้อยู่ในระดับที่ แข่งขันกับประเทศ AEC ได้ สิ่งที่ เกิดขึ้นก็คือ นอกจากบริษัทต่างชาติจะมาจดทะเบียนลงทุน หรือค้าขายกับเราไม่มากเท่า ประเทศอื่นๆแล้ว บริษัทของไทยเองก็คงต้องหาทางไปจดทะเบียนบริษัทในประเทศ AEC ที่มีอัตราภาษีต่ำกว่า แม้ว่าบริษัทไทย แห่งนั้นจะยังทำธุรกิจในไทยเหมือนเดิม แต่เขาก็ต้องหาวิธีบริหารภาษีโดยการไปจดทะเบียนบริษัทในประเทศที่ภาษีต่่ำกว่าไทย เช่น สิงคโปร์ และก็ไปเสียภาษีที่โน่นนั่น หมายความว่า พอเราเป็น AEC แล้วนอกจากอัตราภาษีที่สูงกว่าประเทศสมาชิกจะไม่ ดึงดูดต่างชาติมาลงทุนแล้ว บริษัทไทยและคนไทยอาจหนีไปต่างประเทศอย่างถูกกฎหมายอีกด้วย
จะเห็นว่าไทยเราไม่มีทางเลือกว่าจะลดหรือไม่ลดอัตราภาษีตรงกันข้ามมันเป็นหมากบังคับให้ต้องลด แต่การปรับลด อัตราภาษีทั้งสองตัวนี้นอกจากจะกระทบการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญแล้ว ยังจะมีผลต่อเนื่องต่อนโยบายการ ส่งเสริมการลงทุนของไทย ซึ่งปัจจุบันยังเน้นการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอีกด้วย เพราะเมื่อลดอัตราภาษีไปแล้วแรงดึงดูดด้าน ภาษีก็ลดลง แล้วบีโอไอจะทำยังไง ไทยเราพร้อมหรือยังที่จะปฏิรูปแนวทางการส่งเสริมการลงทุนไปสู่การใช้เครื่องมือการส่งเสริม ที่ไม่ใช่สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรและส่งเสริมการลงทุนแบบเฉพาะเจาะจงอุตสาหกรรมให้มากกว่านี้หรือไม่
ซึ่งทราบว่าหลาย ประเทศที่ต่างชาตินิยมไปลงทุนหรือไปจัดตั้งเป็นสำนักงานภูมิภาค เขาใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนแบบไม่ใช่สิทธิประโยชน์ทาง ภาษีกันอยู่และได้ผลดีเสียด้วย ที่สำคัญนี่เรากำลังเปรียบเทียบกับโครงสร้างภาษีในปัจจุบันของประเทศคู่แข่งนะครับ เรารู้ได้ยังไงว่าเขาจะไม่ลดภาษีลง อีกเพื่อให้ประเทศเขาได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อเป็น AEC กันแล้วและนั่นเองที่ทำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสมัยนั้นได้ ผลักดันให้ให้กระทรวงการคลังเร่งจัดทำบลูพรินต์ของโครงสร้างภาษีอากรของประเทศขึ้น เพื่อมองไปไกลๆข้างหน้าว่า เมื่อมี AEC แล้วโครงสร้างภาษีอากรจะเป็นอย่างไร ซึ่งก่อนพวกเราจะพ้นจากตำแหน่ง กระทรวงการคลังก็มีบลูพรินต์ของโครงสร้าง ภาษีไว้แล้ว แต่การปรับโครงสร้างภาษีอย่างเดียวยังไม่พอนะครับ เราต้องลงทุนโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอีกอย่างน้อย 5.5 ล้านล้านบาท ภายใน 10 ปี นี่แค่จะท าให้เรามีโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานดีระดับเดียวกับประเทศคู่แข่งนะครับ
ถ้า หากสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของไทยไม่ดีพอ จะทำให้ต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ของไทยสูงกว่าคู่แข่ง ลดความสามารถการ แข่งขันของประเทศ ภาษีนิติบุคคลกับภาษีบุคคลธรรมดาต้องลดภาษีมูลค่าเพิ่มก็ขึ้นไม่ได้ เงินลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภค ขั้นพื้นฐานก็ยังต้องใช้อีกมากแล้ว รัฐบาลจะเอาเงินจากที่ไหนมาลงทุน คำตอบที่คนส่วนใหญ่ตอบก็คือ ให้เอกชนมาร่วมลงทุนแบบที่เรียกว่า Public Private Participation หรือ PPP คือ รัฐบาลลงทุนบางส่วน เอกชนลงทุนบางส่วน แต่เอกชนไม่ว่าจะไทยหรือเทศเขาจะตัดสินใจมาร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทย ก็ต่อเมื่อ เขามีความชัดเจนว่าไทยเราจะก้าวไปทางไหน หรือพูดแบบวิชาการหน่อยก็คือ เรามียุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศเมื่อเราเข้า สู่การเป็นAEC อย่างไร? 
โดยเกษมสันต์ วิระกุล ที่ปรึกษาสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์

จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

1.ประเทศสิงคโปร์
จุดแข็ง
• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก
• การเมืองมีเสถียรภาพ
• เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ
• แรงงานมีทักษะสูง
• ชำนาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ
• มีที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือ
จุดอ่อน
• พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง
• ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า

2.ประเทศอินโดนีเซีย
จุดแข็ง
• ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
• ตลาดขนาดใหญ่ (ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
• มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ
• ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง
จุดอ่อน
• ที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัว
• สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะการคมนาคม และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
ประเด็นที่น่าสนใจ
• การลงทุนส่วนใหญ่เน้นใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก

 3.ประเทศมาเลเซีย
จุดแข็ง
• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน
• มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
• ระบบโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร
• แรงงานมีทักษะ
จุดอ่อน
• จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะระดับล่าง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• ตั้งเป้าหมายเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ในปี 2563
• ฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่คล้ายคลึงกับไทย
• มีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง

4.ประเทศบรูไน
จุดแข็ง
• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 26 ของโลก
• การเมืองค่อนข้างมั่นคง
• เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ของอาเซียน
จุดอ่อน
• ตลาดขนาดเล็ก ประชากรประมาณ 4 แสนคน
• ขาดแคลนแรงงาน
ประเด็นที่น่าสนใจ
• มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
• การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพาสิงคโปร์เป็นหลัก
• ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก

5.ประเทศฟิลิปปินส์
จุดแข็ง
• ประชากรจำนวนมากอันดับ 12 ของโลก (>100 ล้านคน)
• แรงงานทั่วไปมีความรู้-สื่อสารภาษาอังกฤษได้
จุดอ่อน
• ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียน
• ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ประเด็นที่น่าสนใจ
• สหภาพแรงงานมีบทบาทค่อนข้างมาก และมีการเรียกร้องเพิ่มค่าแรงอยู่เสมอ
• การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก

 6.ประเทศเวียดนาม
จุดแข็ง
• ประชากรจำนวนมากอันดับ 14 ของโลก (~90 ล้านคน)
• มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
• มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,200 กิโลเมตร
• การเมืองมีเสถียรภาพ
• ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ำสุดในอาเซียน รองจากกัมพูชา
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
• ต้นทุนที่ดินและค่าเช่าสำนักงานค่อนข้างสูง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• มีรายได้และความต้องการสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่โตเร็ว

 7.ประเทศกัมพูชา
จุดแข็ง
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำ ป่าไม้ และแร่ชนิดต่างๆ
• ค่าจ้างแรงงานต่ำสุดในอาเซียน (1.6 USD/day)
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• ต้นทุนสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟฟ้า และการสื่อสาร) ค่อนข้างสูง
• ขาดแคลนแรงงานมีทักษะ
ประเด็นที่น่าสนใจ
• ประเด็นขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาอาจบั่นทอนโอกาสการขยายการค้า-การลงทุนระหว่างกันในอนาคตได้

 8.ประเทศลาว
จุดแข็ง
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำและแร่ชนิดต่างๆ
• การเมืองมีเสถียรภาพ
• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.06 USD/day)
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีทางออกสู่ทะเล
ประเด็นที่น่าสนใจ
• การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำ และเหมืองแร่

 9.ประเทศพม่า
จุดแข็ง
• มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก
• มีพรมแดนเชื่อมโยงจีนและอินเดีย
• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.5 USD/day)
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบาย
ประเด็นที่น่าสนใจ
• การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในประเทศเชิงรุก ทั้งทางถนน รถไฟความเร็วสูง และท่าเรือ

 10.ประเทศไทย
จุดแข็ง
• เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรหลายรายการรายใหญ่ของโลก
• ที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ
• สาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึง
• ระบบธนาคารค่อนข้างเข้มแข็ง
• แรงงานจำนวนมาก
จุดอ่อน
• แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ
• เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลาง
. การเมือ

ประเด็นที่น่าสนใจ
• ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียนในหลายด้าน อาทิ ศูนย์กลางโลจิสติกส์ และศูนย์กลางการท่องเที่ยว
• ดำเนินงานตามแผนปรับตัวสู่ AEC ปี 53-54 ได้ 64% สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของอาเซียนที่ 53% สะท้อนการเตรียมพร้อมอย่างจริงจัง









































































































































































สวัสดี
 รายละเอียดในด้านต่าง ๆ 
1.)การสื่อสาร


2.)ความเป็นอยู่


3.)คุณภาพชีวิต


4.)รายได้


5.)การพัฒนาการ


6.)การรักษาวัฒนธรรม, ประเพณีของท้องถิ่น


7.)การอนุรักษสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ อากาศ


8.)แรงงาน


9.)สาธารณะสุข


10.)อื่น ๆ

นายอนันต์ สังขวัลลิ์ ( Mr. Anan Sangkhawan )
ประวัติ: (Resume)
จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (Sukhothai Thammathirat Open University)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต                                   (Bachelor of Business Administration Program)
ระดับปริญญาตรี                                                      (Bachelor Level)
ชื่อเต็มหลักสูตร                                                      บริหารธุรกิจบัณฑิต
อักษรย่อหลักสูตร                                                   บธ.บ.
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ                                               (Bachelor of Business Administration)
ชื่อย่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ                                   B.B.A.

อบรมหลักสูตรผู้ประกอบการใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
หัวหน้ากลุ่มนักศึกษาภาคใต้ในรุ่น / รองประธานศึกษาในรุ่นฯ
ที่ปรึกษากลุ่มท่องเที่ยว อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
อนุกรรมการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ จังหวัดสงขลา
อาสาสมัครช่วยเหลือนักท่องเที่ยว
หัวหน้ากลุ่มปฎิบัติการ 3 หลักสูตรอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
อาสาสมัคร จราจร ผู้ช่วยเทศกิจเทศบาลเมืองควนลัง
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  รุ่นที่5 เทศบาลเมืองควนลัง อปพร.
รองประธานชมรมอาสารักษ์ถิ่น เพื่อคนรุ่นใหม่
ผู้ประสานงานรุ่นที่ 4 หลักสูตรการอบรม E-Book
สัมมนาการเตรียมความพร้อมการท่องเที่ยว สู่ประชาคมอาเซียน

Contact :
Mobile phone : 08-4838 5999 AIS. , 08-3652 8111 DTAC
E-mail : ananbusiness999@gmail.com
E-mail : anan.sangkhawan@facebook.com
Facebook : Anan Sangkhawan
Badoo: Anan Sangkhawan
Google + : Anan Sangkhawan
ฺัBlogger : เที่ยวเมืองไทย รักเมืองไทย ใช่เลย

Language :  Thai and English
ภาษาที่ใช้ ไทย และอังกฤษ
Talent      : Using  a Computer Program
ความสามารถพิเศษ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

ผู้ร่วมสนับสนุน/เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของชุมชนริมควน และหาดใหญ่